Mod & Dot Insurance ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัยรถจักรยานยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัยรถจักรยานยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ

0 Comments


หลายๆ คนแม้จะใช้รถใช้ถนนกันมาอย่างยาวนาน แต่เชื่อเลยว่ามากกว่าห้าสิบเปอร์เซ็นต์ต้องยังไม่เคยรู้มาก่อนแน่ๆ ว่าประกันภัยรถจักรยานยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจนั้นมันมีความเหมือนหรือความต่างกันที่ตรงไหน และจำเป็นต้องทำทั้งสองมั้ย หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งก็พอ เอาเป็นว่าไม่ต้องสงสัยกันอีกต่อไป เพราะบทความนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว กับข้อมูลที่ช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัยรถจักรยานยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจนั่นเอง ซึ่งข้อมูลที่ช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัยรถจักรยานยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจจะมีอะไรบ้างนั้น ต้องตามมาดูพร้อมๆ กันเลย

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัยรถจักรยานยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ

ก่อนอื่นเรามาเริ่มกันที่ประกันภาคบังคับกันก่อนเลย ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันจะต้องทำประกัน เพื่อดูแลในส่วนของค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บหรือผู้เสียชีวิต เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเบื้องต้น โดยราคาจะมีความแตกต่างอยู่ที่ขนาดของเครื่องยนต์ในแต่ละคัน โดยให้ความคุ้มครอง ดังต่อไปนี้ คุ้มครองเบื้องต้น ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด หรือกรณีที่เราเป็นฝ่ายถูก : จะได้ค่าสินไหมทดแทนครอบคลุมในส่วนการคุ้มครองดังต่อไปนี้ กรณีบาดเจ็บค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 300,000 บาท ค่ารักษารายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุด20วัน ไม่เกิน 4,000 บาท และกรณีสูญเสียอวัยวะ 2ส่วนขึ้นไป 300,000 บาท / สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท  / สูญเสียนิ้ว 1 นิ้วขึ้นไป 200,000 บาท

ต่อมาจะเป็นประกันภาคสมัครใจ เป็นประกันที่สามารถเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ ประกันตามความสมัครใจ เลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับประกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น ประกันชั้น 1, 2+,3+,3 ซึ่งมีขอบเขตความคุ้มครองคล้ายกับประกันรถยนต์ โดยให้ความคุ้มครอง ดังต่อไปนี้ ประกันชั้น 1 คุ้มครองความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันและคู่กรณี คุ้มครองรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลต่างๆ และช่วยประกันตัวผู้ขับขี่ คุ้มครองและครอบคลุมมากกว่าประกันอื่นๆ ประกันชั้น 2+ คุ้มครองรถที่เอาประกันกรณี รถชน รถหาย ไฟไหม้ แต่ในส่วนของบุคคลภายนอก คุ้มครองชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินที่เกิดความเสียหาย ได้เฉพาะมีคู่กรณีเท่านั้น เป็นต้น

และทั้งหมดนี้ ก็คือ การไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัยรถจักรยานยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจที่เรานำมาฝากกันในบทความนี้นั่นเอง ทั้งนี้ทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลความรู้เกี่ยวกับไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัยรถจักรยานยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย